|
![]() | 26 มกราคม 2566 |
![]() | 30 พฤศจิกายน 2565 |
![]() | ขอเชิญชวนชาวตำบลบ้านเป้าเข้าร่วมโครงการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับครัวเรือน จัดทำถังขยะเปียกแบบมีฝาปิด เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะจากต้นทาง การทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน มี 5 วิธีทำง่ายๆ ดังนี้ 1. เตรียมภาชนะเหลือใช้ที่มีฝาปิด 2. ตัดที่ก้นภาชนะแล้วฝังดินที่ความลึก 2 ใน 3 ของภาชนะ โดยให้ก้นภาชนะห่างจากผิวดินประมาณ 30 ซม. 3. นำเศษอาหาร ใบไม้ เทใส่ถังแล้วปิดฝา 4. จุลินทรีย์ไส้เดือนในดินจะย่อยเศษอาหารในดิน 5. เมื่อปริมาณเศษอาหารสูงเท่าระดับพื้นดินให้นำดินมากลบแล้วย้ายถังไปทำที่อื่นต่อไป 15 พฤศจิกายน 2565 |
![]() | 06 ตุลาคม 2565 |
![]() | 06 ตุลาคม 2565 |
![]() | 08 กันยายน 2565 |
![]() | สามารถลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์และหน่วยรับลงทะเบียน ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2565 ถึง วันที่ 19 ตุลาคม 2565
⭐️ คนโสดสามารถลงทะเบียนได้ด้วยตนเองผ่านทางเว็บไซต์ ⭐️ ผู้มีครอบครัว สามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ แล้วเดินทางไปยื่นเอกสาร ณ จุดรับลงทะเบียน หรือ เตรียมเอกสาร แล้วเดินทางไปยื่น ณ จุดรับลงทะเบียน จุดรับลงทะเบียนอำเภอเมืองลำปาง ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเป้า ระหว่างวันที่ 19 - 23 กันยายน 2565 วันที่ 19 ก.ย.65 : 08.30 น. - 12.00 น. - หมู่ที่ 1 , หมู่ที่ 9
13.00 น. - 16.30 น. - หมู่ที่ 6 , หมู่ที่ 10
วันที่ 20 ก.ย.65 : 08.30 น. - 12.00 น. - หมู่ที่ 2
13.00 น. - 16.30 น. - หมู่ที่ 8
วันที่ 21 ก.ย.65 : 08.30 น. - 12.00 น. - หมู่ที่ 5 , หมู่ที่ 12
13.00 น. - 16.30 น. - หมู่ที่ 11
วันที่ 22 ก.ย.65 : 08.30 น. - 12.00 น. - หมู่ที่ 7
13.00 น. - 16.30 น. - หมู่ที่ 4
วันที่ 23 ก.ย.65 : 08.30 น. - 12.00 น. - หมู่ที่ 3
13.00 น. - 16.30 น. - หมู่ที่ 3
05 กันยายน 2565 |
![]() | ลักษณะโรค
การวินิจฉัยโรค
สาเหตุ
ความทนทานของเชื้อ enteroviruses
วิธีติดต่อ
ระยะติดต่อ
ระยะฟักตัว
ระบาดวิทยาของโรค
ข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค 10 สิงหาคม 2565 |
![]() | 27 กรกฎาคม 2565 |
![]() | องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเป้า ขอเชิญชวนประชาชนชาวตำบลบ้านเป้า นำสัตว์ที่ท่านได้ทำการลงทะเบียบในโครงการวัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระราชปณิธาน ศาสตราจารย์สมเด็จพระเจ้าน้องเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เข้ารับการฉัดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ประจำปี 2565 ตามกำหนดการ ดังนี้ 28 มิถุนายน 2565 |
![]() | 27 มิถุนายน 2565 |
![]() | 25 มิถุนายน 2565 |
![]() | 26 มิถุนายน "วันต่อต้านยาเสพติดโลก"
:: รวมพลังไทย พ้นภัยยาเสพติด ::
ตามมติที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๓๐ ได้กำหนดให้วันที่ ๒๖ มิถุนายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมเพื่อต่อต้านยาเสพติดโดยดำเนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ จนถึงปัจจุบัน
ในปี ๒๕๖๕ แผนการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ขับเคลื่อนเพื่อรองรับประมวลกฎหมายยาเสพติดใหม่ โดยนำแนวคิดการแก้ไขปัญหายาเสพติดแนวทางใหม่ ตามมติที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดโลก ค.ศ. ๒๐๑๖ หรือ UNGASS 2016 โดยเปลี่ยนกรอบความคิดจากสงครามยาเสพติด เป็นการใช้สาธารณสุขนำการแก้ไขปัญหายาเสพติด การทบทวนนโยบายควบคุมยาเสพติดนโยบายทางเลือกและการลงโทษที่ได้สัดส่วนการกระทำความผิด เน้นสุขภาพผู้ป่วย รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสังคมความเหลื่อมล้ำ ความยากจน ซึ่งเป็นพื้นฐานของปัญหายาเสพติด นำมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทย
เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก (๒๖ มิถุนายน) ประจำปี ๒๕๖๕ สำนักงาน ป.ป.ส. และหน่วยงานภาคีจึงกำหนดจัดกิจกรรม ซึ่งเน้นให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบถึงความสำคัญของวันที่ ๒๖ มิถุนายน ซึ่งเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก โดยในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ดำเนินการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับประชาชน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social media)หรือช่องทางอื่น ๆ ตามความเหมาะสม เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยจากยาเสพติด การจัดกิจกรรมเกมการตอบคำถามชิงรางวัล หรือการจัดประกวดต่าง ๆ การเผยแพร่การอ่านคำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก ในวันอาทิตย์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ ทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยการอ่านสารของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก โดยเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ กิจกรรมพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณบุคคลและองค์กรที่มีผลงานยอดเยี่ยมและดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี ๒๕๖๕ และพิธีเผาทำลายยาเสพติดของกลางที่คดีถึงที่สุด ครั้งที่ ๕๓ นอกจากนี้ ยังมีการปฏิบัติการในพื้นที่เป้าหมาย การตรวจตราตามหมู่บ้าน/ชุมชน จุดตรวจ จุดสกัด เพื่อเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่ โดยให้ดำเนินการตามความเหมาะสมและคำนึงถึงมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID - 19 ของแต่ละพื้นที่โดยในวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ ขอความร่วมมือประชาชนใส่เสื้อสีขาว เพื่อเป็นการแสดงพลังต่อต้านยาเสพติด
24 มิถุนายน 2565 |
![]() | วันไข้เลือดออกอาเซียน (ASEAN Dengue Day) ปัญหาของโรคไข้เลือดออกไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทย ประเทศในภูมิภาคเขตร้อนชื้น เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีปัญหาเช่นกัน ดังนั้น ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บูรไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา สืบเนื่องมาจากทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างเผชิญกับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกร่วมกัน ภายหลังจากการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ที่จัดขึ้นในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ.2010) ณ ประเทศสิงคโปร์ จึงได้มีข้อตกลงร่วมกันให้วันที่ 15 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันไข้เลือดออกอาเซียน เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาคมอาเซียนป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยให้แต่ละประเทศดดำเนินกิจกรรมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องจริงจัง และผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในนามของอาเซียน โดยมีกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรม คือ ในวันที่ 14 มิถุนายน จะมีการจัดประชุมโรคไข้เลือดออกสำหรับสมาชิกอาเซียนและประเทศผู้ให้การสนับสนุนเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและการป้องกันควบคุมโรคร่วมกัน และในวันที่ 15 มิถุนายน จะมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกตามบริบทของแต่ละประเทศสมาชิก เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนและชุมชนตระหนักรู้ปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออก ถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุข ในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่ละปีพบผู้ป่วยไม่ต่ำกว่าปีละ 200,000 ราย จากผลสำรวจครึ่งปีแรก มีรายงานผู้ป่วยใน 7 ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว มาเลเชีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม รวม 69,213 ราย เสียชีวิต 57 ราย และด้วยสภาพภูมิประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เหมาะสำหรับการแพร่พันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ดังนั้น ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ จึงได้มีมติร่วมกัน กำหนดให้วันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันไข้เลือดออกอาเซียน ประชาชนสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยตนเองโดยการปฏิบัติ 5 ป+1ข ได้แก่ 1.ป.ปิด ปิดภาชนะขังน้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ 2.ป.เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง 3.ป.ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น ปลาหางนกยูง ปลากัด ปลากระดี่ 4.ป.ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่งสะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย 5.ป.ปฏิบัติ ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย 1ข.ขัดไข่ยุงลาย file:///C:/Users/Administrator/Desktop/TfGiH0Kh2ge5MTb5ERUr.webp ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข , กรมควบคุมโรค
15 มิถุนายน 2565 |
![]() | 09 มิถุนายน 2565 |